วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กีต้าร์กับเพลงเพราะๆ

 
สำหรับคนที่มีใจรักดนตรี การเล่นกีต้าร์ไม่ใช่เรื่องยากใช่มั้ยคะ ขอแค่เรามีใจรัก และฝึกฝนบ่อยๆ เราลองมาดูการเล่นกีต้าร์ Cover เพลงเพราะๆกันนะคะ
 
 
 
 
เพลง ความเจ็บปวด
 
 
 
 
 
เพลง เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม
 

การอ่านแท็บ

การอ่านแท็บ (Tablature)

การอ่านแท็บกีต้าร์, ตัวอย่าง tab


การอ่านแท็บ

การอ่านแท็บสายกีต้าร์จะแทนด้วยเส้นทั้งหมด 6 เส้น เส้นบนสุดคือสาย 1 ของกีต้าร์ไล่ลงมาเป็นสาย 2 – 3 – 4 – 5 ถึงเส้นสุดท้ายคือสาย 6 โดยตัวเลขที่อยู่บนแท็บจะหมายถึงตำแหน่งที่ต้องกดว่าจะต้องกดที่ช่องใดบนฟิงเกอร์บอร์ด ของสายนั้นๆ( เลข “0” หมายถึง การดีดสายเปล่า ) และถ้าตัวเลขที่อยู่บนเส้นอยู่ในตำแหน่งเดียวกันในแนวตั้งดังรูปด้านบนก็ให้ดีดพร้อมกัน ยกตัวอย่างถ้าตรงกัน 2 สองสายก็ดีดพร้อมกันแค่สองสาย ถ้าตรงกันทั้งหมด 6 สายก็ให้ดีดพร้อมกันทั้ง 6 สาย เช่น ตัวอย่าง TAB ด้านบน ตัวเลขด้านขวามือสุด เป็นการจับคอร์ด G แล้วดีดพร้อมกันทั้ง 6 สาย (โดยมากแล้วถ้าตัวเลขอยู่ในแนวเดียวกันตั้งแต่ 3 ตำแหน่งขึ้นไปจะเป็นการจับคอร์ด ) เช่นรูปด้านบน เป็นการจับคอร์ด G จาก TAB ด้านบน การเล่นทั้งหมดคือ ( ดีดสายเปล่าสาย 6 --> ตามด้วยดีดสาย 6 ช่อง 2 --> ดีดสาย 6 ช่อง 3 --> และดีดคอร์ด G ) จะมีการดีดทั้งหมด 4 ครั้ง



สัญลักษณ์เบื้องต้นที่ใช้ใน TAB

  • h = hammer on
  • p = pull off
  • b = bend string up (ดันสายขึ้น)
  • r = release bend (ดันสายค้างไว้ ดีดแล้วจึงผ่อนสายลง)
  • / = slide up (สไลด์ขึ้น)
  • \ = slide down (สไลด์ลง)
  • s = legato slide (การสไลด์ไปยังโน๊ตตัวอื่นโดยไม่ต้องดีดซ้ำ)
  • v, ~ = vibrato (ทำเสียงสั่น)
  • tr = trill (การรัวนิ้ว)
  • T = tap (การเล่น Tabping)
  • x = on rhythm muted slash (การให้จังหวะโดยทำเสียงบอด)
www.folkpeople.com

การตั้งสายกีต้าร์

การตั้งสายกีตาร์

การตั้งสายกีต้าร์นั้นมีอยู่หลายวิธีแต่ส่วนมากแล้ววิธีที่นิยมใช้กันมากและง่ายคือการตั้งสายโดยการเทียบเสียงของแต่ละสาย การตั้งสายด้วยวิธีนี้จะต้องมีทักษะการฟังเสียงที่ดีในระดับหนึ่งเพื่อที่จะฟังออกว่าเสียงนั้นตรงตามโน้ตหรือยัง สำหรับคนที่เริ่มเล่นในตอนแรกอาจจะยังฟังแล้วแยกเสียงไม่ออก ก็แนะนำใช้เครื่องตั้งสายมาช่วยตั้งไปก่อน และก็พยายามหัดตั้งสายด้วยตนเอง การตั้งสายนั้นถือเป็นทักษะพื้นฐานส่วนหนึ่งที่คนหัดเล่นกีต้าร์ควรจะรู้เป็นอย่างแรก


การตั้งสายกีต้าร์


การตั้งสายแบบมาตรฐาน ( Standard E ) ที่ชื่อ Standard E เพราะว่าโน้ตของสายแรกเป็นโน้ต E ส่วนโน้ตของสายอื่นจะเป็นดังรูปด้านบนโดยจะเริ่มตั้งจากสาย 1 จนถึงสายที่ 6 ( ตัวอักษรสีเหลื่องในรูปด้านบนคือโน้ตในตำแหน่งที่กด )

การตั้งเสียงของสาย 1 โดยปรับสายจนได้เสียงโน๊ต E ( ถ้าสามารถฟังเสียงของโน๊ตออก ) แต่ถ้ายังฟังเสียงโน้ตไม่ออกก็ไม่เป็นไร ก็ให้ปรับสายให้ตึงพอประมาณไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป ( สำหรับคนที่เริ่มหัดเล่นไม่ต้องกังวลเรื่องโน้ตจะตรงหรือไม่ ถ้าเราเล่นหรือซ้อมคนเดียว แต่ถ้าเล่นเป็นวงแล้วส่วนมากก็จะใช้เครื่องตั้งสาย เพื่อความถูกต้องของเสียง และ ทั้งวงจะได้เล่นอยู่ในคีย์เดียวกัน )

การตั้งเสียงของสาย 2 โดยการกดที่ สาย 2 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 1แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 1 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

การตั้งเสียงของสาย 3 โดยการกดที่ สาย 3 ช่อง 4 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 2 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 2 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

การตั้งเสียงของสาย 4 โดยการกดที่ สาย 4 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 3 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 3 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

การตั้งเสียงของสาย 5 โดยการกดที่ สาย 5 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 4 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 4 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

การตั้งเสียงของสาย 6 โดยการกดที่ สาย 6 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 5 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 5 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

แนวทางในการเล่นกีต้าร์

สอนเล่นกีต้าร์ แนวทางในการหัดเล่นกีต้าร์


1. ต้องมีใจรักอยากที่จะเล่น มีความมุ่งมั่นในการฝึก มีศิลปินและแนวดนตรีที่ชอบ เพื่อเป็นแรงผลักดันและกำลังใจในการฝึก

2. ต้องมีกีตาร์เป็นของตัวเอง ถ้าไม่มีกีต้าร์เป็นของตัวเองการฝึกซ้อมก็ทำได้ยาก ทำให้การฝึก ไม่ค่อยต่อเนื่อง การมีกีต้าร์เป็นของตัวเองจะดีที่สุด แนะนำสำหรับคนที่เริ่มหัดเล่นราคาซัก 2500 – 3000 กว่าๆ ก็พอ คุณภาพก็ดีพอใช้ได้เหมาะสำหรับการเริ่มต้น

3. หัดตั้งสายกีต้าร์ ควรรู้ถึงวิธีการตั้งสาย รู้โน้ตของสายเปล่าแต่ละสาย เพราะถ้ากีต้าร์ที่เล่นเสียงเพี้ยน เล่นยังไงก็คงจะไม่เพราะแน่ สำหรับคนที่หัดใหม่ๆการตั้งสายจากการฟังเทียบเสียงคงทำได้ลำบาก เพราะอาจจะฝังแล้วยังแยกเสียงโน้ตไม่ออก ต้องใช้เวลาซักหน่อยเมื่อเล่นไปนานๆคุณก็จะฝังออกเอง แนะนำให้ซื้อเครื่องตั้งสายมาใช้ก่อนแล้วค่อยฝึกตั้งสายด้วยตัวเองควบคู่ไป และเมื่อไหร่ที่เล่นแล้วรู้สึกว่าเสียงมันเพี้ยนๆ ก็ลองหัดตั้งสายไปเลยถ้ายังไม่ได้ก็ใช้เครื่องตั้งสายช่วยไปก่อน ฝึกฟังไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ได้เอง เรื่องแบบนี้มันต้องใช้เวลา

4. หัดจับคอร์ดง่ายๆ ซัก 3 – 4 คอร์ด ที่พอจะเล่นเป็นเพลง เพราะถ้าคอร์ดที่ฝึกจับอยู่มันเล่นรวมกันไม่เป็นเพลงเมื่อฝึกไปนานๆ จะรู้สึกเบื่อ แต่ถ้าคอร์ดที่หัดจับอยู่สามารถเล่นเป็นเพลงได้ จะทำให้คุณมีกำลังใจในการฝึกต่อไปครับ เมื่อจับคอร์ดได้ซักสามสี่คอร์ดจนคล่องแล้วก็หัดจับคอร์ดอื่น หรือหาเพลงที่คุณชอบที่มีคอร์ดที่คุณยังไม่เคยหัดจับมาเล่น แต่ไม่ควรเป็นคอร์ดที่ยากเกินไป หัดจับคอร์ดครั้งแรกแนะนำ เพลง Zombie มีคอร์ด Em - C - G - D หัดจับคอร์ดเปลี่ยนคอร์ด วนไปเรื่อยๆจนคล่อง และจึงหัดคอร์ดอื่นๆต่อไป หัดเล่นแรกๆยังไม่ต้องกังวลเรื่องจังหวะ หัดจับคอร์ดเปลี่ยนคอร์ดให้คล่องก่อน ดีด ลงๆๆๆๆๆๆ ไปก่อน เรื่องจังหวะการดีดค่อยมาฝึกทีหลัง เพราะถ้ากังวลเรื่องจังหวะจะทำให้การจับคอร์ดเปลี่ยนคอร์ดยากขึึ้นไปอีก การเริ่มต้นต้องค่อยเป็นค่อยๆไปพื้นฐานถือว่าำสำคัญสุดในการต่อยอดต่อไป

5 . หัดเรื่องจังหวะการตีคอร์ด จังหวะการตีคอร์ดของแต่ละเพลงจะไม่เหมือนกัน แต่ลักษณะของการตีคอร์ดโดยมากนั้นจะเป็นการดีดขึ้นลงที่สม่ำเสมอ แต่จังหวะที่ดีดขึ้นหรือลง โดนสายหรือไม่โดนสาย ตรงนี้แหละที่เป็นจังหวะเฉพาะของแต่ละเพลง คุณต้องฟังเพลงบ่อยๆ แล้วจะฟังออกว่าจังหวะการตีคอร์ดเป็นยังไง พูดเหมือนง่ายแต่ต้องใช้เวลาและ ทักษะในการฟัง นานพอควรถึงจะฟังจังหวะดนตรีออก เทคนิคสำคัญคือต้องฟังเพลงบ่อยๆ พยายามฟังแล้วแยกฟังเสียงกีต้าร์ เสียงเบส เสียงกลอง เมื่อสามารถแยกฟังเสียงเครื่องดนตรีต่างๆได้แสดงว่าคุณ มีทักษะในฟังมากขึ้น และยังสามารถใช้ในการแกะเพลงได้ด้วย

6. เมื่อพอจับคอร์ดเปลี่ยนคอร์ดได้คล่อง พอเล่นเป็นเพลงได้นิดหน่อย แล้วค่อยไปฝึกเทคนิคต่างๆต่อไป ตัวอย่างเช่น การฝึกนิ้วมือซ้าย การเกากีต้าร์ การจับPower Chord การไล่สเกล และ เทคนิคลูกเล่นต่างๆต่อไป
  

เทคนิคการเล่นกีต้าร์





เทคนิคการเล่นกีต้าร์



การเล่นกีต้าร์โดยทั่วไปนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ

1. เล่นแบบดีดทีละสาย ผู่เล่นจะต้องจำจุดต่างๆ ให้ได้ว่าเป็นเสียงอะไร ในการกดลงไปตามจุดต่างๆ ของคอร์ดกีต้าร์ต้องกดให้แน่นๆนะครับ ถ้ากดไม่แน่นเสียงจะบอด (เสียงไม่กังวาล) การฝึกหัดควรฝึกหัดตามโน็ต ตาไม่ต้องดูนิ้ว ในระยะแรกอาจจะดูบ้างไม่เป็นไรครับ
การดีดทีละสายนี้สามารถทำให้เสียงที่ดีดออกมาแปลกไปจากเดิมได้ เมื่อเวลาที่จะเปลี่ยนไปติดตามโน็ตอีกตัวนึง คือ "การเล่นแบบรูดนิ้ว" การเล่นแบบรูดนิ้วนั้น ผู้เล่นจะต้องกดจุดแรกให้แน่นก่อนแล้วรูดนิ้วจากจุดแรกที่กดอยู่ไปยังจุดที่เกิดเป็นเสียงตามต้องการ (รูดสายเดิม) เช่น จาก โดในสายที่ 4 รูดนิ้วไปยังฟาในสายเดียวกัน การเล่นแบบนี้ผู่เล่นจะต้องจำให้ได้ว่าสายนั้นตามช่องต่างๆ มีเสียงอะไรบ้าง การเล่นแบบรูดนิ้วทำให้เกิดความไพเราะขึ้นกว่าการเปลี่ยนจุดตามธรรมดา ถ้าต้องการให้เสียงสั่นพริ้ว เมื่อดีดแล้วต้องเขย่าตัวกีต้าร์

 2. เล่นแบบดีดหลายสายพร้อมกัน วิธีนี้ คือ การดีดเป็นคอร์ดนั่นเอง การฝึกหัดดีดเป็นคอร์ดครั้งแรกควรจะดีดช้าๆ ก่อน เมื่อกดจุดต่างๆ ที่จะทำให้เกิดกลุ่มเสียงแล้วดีดไล่ลงไปทีละเส้น วิธีนี้เรียกว่า Broken Chord การเล่นแบบนี้จะทำให้ผู้เล่นรู้ว่าเสียงใดบอดบ้าง ในการเปลี่ยนคอร์ดหนึ่งไปยังอีกคอร์ดหนึ่ง นิยมเปลี่ยนโดยการเลื่อนนิ้วเพราะจะทำให้เสียงไม่ขาดหายไป แต่มีการเปลี่ยนคอร์ดบางคอร์ดต้องยกนิ้วออกจากจุดเดิมทั้งหมด เพราะคอร์ดที่ต้องการอยู่ไกลจากตำแหน่งของคอร์ดเดิมมาก


วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การหัดใช้นิ้ว

 การหัดใช้นิ้วมือซ้ายให้คล่อง


สิ่งที่คุณเห็นคือการฝึกไล่นิ้วซึ่ง เรียกว่า โคเมติกเป็นการไล่ให้คล่องมือเริ่มหัดจากช้า ๆ ไปจนคลองแล้วเร่งจังหวะในการฝึก เวลาที่นิ้วที่ต้องการเล่นขยับ นิ้วอื่นจะต้องอยู่กับที่ ห้ามเคลื่อนไหว(ดูรูปตัวอย่าง) มือขวาดีดขึ้นลงอย่างช้าๆ แล้วค่อยเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคล่องขึ้น รับรองว่าให้ผลดีมากเลย นักกีต้าร์เซียนเขายังฝึกกันเลยครับ ให้ไล่จากบาร์แรกไปจนถึงบาร์ที่ 12 แล้ว ไล่ย้อนกลับมาจนถึงบาร์ที่ 1 นะครับวันละ 5 - 15 นาทีก็เพียงพอแล้วสำหรับท่านที่มีเวลาน้อย

การจำคอร์ดกีต้าร์

:: การจำคอร์ดกีต้าร์ ::
       ในการจำคอร์ดกีต้าร์นั้นสำหรับพวกที่เก๋าๆแล้วจะรู้ว่า เป็นเรื่องที่ง่ายมาก แต่สำหรับมือใหม่ มันค่อนข้างที่จะเยอะมากทีเดียว เห็นแล้วตาลายไปหมด เอาเป็นว่ามาว่ากันเลยดีกว่า พยายามทำความเข้าใจสักหน่อย จะได้ไม่ต้องใช้ความจำมาก        1. อันดับแรกเลยต้องมาลองสังเกตดูว่าคอร์ดกีต้าร์มันจะเป็นภาษาอังกฤษที่วนไปเรื่อยๆ ก็คือ A - B - C - D - E - F - G - A - B - - - - >
       2. ทีนี้มาดูว่ามันมี # หรือ b ต่อท้ายตรงใหนบ้าง(เลือกจำซักอย่างก็พอ ในที่นี้ขอพูดถึง # ก่อน นั่นก็คือ เครื่องหมาย # จะอยูต่อท้ายทุกตัวยกเว้นระหว่าง B กับ C และ ระหว่าง E กับ F ดังนี้คือ A - A# - B - C - C# - D - D# - E - F - F# - G - G# - A - - - - >
        3. เมื่อเป็น b ก็คือเป็นคอร์ดเดียวกับตรงที่มีเครื่องหมาย # นั่นเอง เพียงแค่เรียกกันคนล่ะชื่อแค่นั้น เช่น A# เรียกอีกอย่างว่า Bb เป็นต้น
        4. ทีนี้มาลองดูบนคอกีต้าร์กัน ทดลองจับคอร์ด F ดู เมื่อเลื่อนเข้ามาด้านใน 1 บาร์ก็จะเป็นคอร์ด F# เลื่อนเข้ามาอีก 1 บาร์ก็คือคอร์ด G ตามลำดับไปเรื่อยๆจนหมดบาร์ บนคอกีต้าร์ คอร์ดอื่นๆ ก็เหมือนกันมันจะวนแบบนี้ตลอด ซึ่งจะทำให้จำคอร์ดได้ง่ายและมากขึ้นแบบไม่ต้องใช้สมองมาก

        ทดลองฝึกดูนะคะ ไม่เข้าใจก็ลองถามเพื่อนที่เก่งๆดู เขาน่าจะรู้

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แนะนำร้านกีต้าร์

ราคากีต้าร์เราได้หาเว็บไซต์มาให้เพื่อผู้ที่สนใจได้เลือกซื้อกัน  http://www.guitarlike.com/
สำหรับผู้ที่สนใจจะซื้อกีต้าร์ เราขอแนะนำ ร้านขายกีต้าร์เปิดใหม่ย่านสีลม ติดสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง
guitarlike เป็นร้านที่ได้รวบรวมเอากีต้าร์แบรด์ดัง ๆ หลายยี่ห้อมารวมกันในร้านเดียว เพื่อให้ลูกค้าที่ต้องการ
ซื้อกีต้าร์ได้เปรียบเทียบราคาและคุณภาพต่างๆ ให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าจริง ๆ ทางร้านมีขายกีต้าร์โปร่ง,
กีต้าร์ไฟฟ้า, กีต้าร์มือสอง  มีบริการจัดส่งถึงที่ ราคาถูก และรับประกันคุณภาพทุกชิ้น สนใจติดต่อคุณวิก
086-3261127 หรือ 086-3685145  www.guitarlike.com <http://www.guitarlike.com/>

E-mail  musicmodern@hotmail.co.th







แผนที่ร้าน
 Musicmodern.com   
62 Thaniya BTS Wing Bldg., 3rd Silom Road, Suriyawong Bangrak Bangkok 10500
e-mail  musicmodern@hotmail.co.th
เดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS1.ลงสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง  2.ออกประตู 1 จากสถานี  3.มองทางขวามือ ทางเชื่อมขึ้นตึกธนิยะ BTS WING ชั้น 3 เดินเลี้ยวซ้ายติดกับร้านทำผม  
เดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน1.ลงสถานีสีลม  2.ออกประตู 2 (ฝั่งโรงแรมดุสิตธานี)  3.เดินตรงมาทางสถานีรถไฟฟ้าด้านบน BTS
4.ขึ้นบันไดเลื่อนทางขึ้นรถไฟฟ้า BTS (หน้าตึกสีบุญเรือง)5.ขึ้นบันไดเลื่อนแล้วเดินเลี้ยวซ้ายตามทาง จะเจอทางเชื่อมขึ้นตึกธนิยะ
BTS WING ชั้น 3 เดินเลี้ยวซ้ายติดกับร้านทำผม 
เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว จอดรถได้ที่ลานจอดรถอาคารธนิยะ  ชั้น 3 ฝั่ง อาคารธนิยะที่ติดรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้า MRT ขึ้นที่สถานีสีลม ออกทางออกที่ 2 เดินมาที่อาคารธนิยะ ประมาณ 100 เมตร เข้าในตึก ชั้น 3
รถโดยสารสาธารณะ สาย 77, 76, 206, 501, 514, 145, 511, 15, ฯลฯ
เปิดทุกวัน 10.00-20.00 น.  โทร.086-3261127  /  086-3685145
E-mail musicmodern@hotmail.co.th

เรามาดูราคา กีต้าร์ 10 อันดับ ที่แพงที่สุดในโลก

The World's Most Valuable Guitars !
10 กีตาร์ที่แพง... ที่สุดในโลก

10. Fender Jag-Stang (Kurt Cobain)
ราคา $ 190,000 (7,600,000 Baht)

Fender Jag-Stang ในปี 1993 เป็นส่วนผสมของรุ่น Jaguar และรุ่น Mustang
และเป็นตัวที่เขาใช้เล่นในช่วงต้นปี 1994

... ต่อมาเขายกกีตาร์ตัวนี้ให้ Michael Stipe แห่งวง " REM "
และ Michael ยังใช้ใน Music Video ของวง ในเพลง " What's the Frequency Kenneth "


9. Homemade Red Special (Brian May)
ราคา $ 500,000 (20,000,000 Baht)
Brian May ออกแบบและผลิตกีตาร์ Red Special ของเขา ตอนที่เขายังเป็นวัยรุ่น และมันก็เป็นกีตาร์ตัวหลักของเขาแต่นั้นมา
May และพ่อของเขา เริ่มทำกีตาร์ตัวนี้ในปี 1962 และมันก็เสร็จสมบูรณ์ในเวลาสองปีต่อมา...

" ตอนกีตาร์เสร็จสมบูรณ์ ผมอายุ 17 ปี ผมอยากได้กีตาร์ที่เสียงเพราะและซาวน์อุ่น แต่งานที่ออกมาภายนอกจะต้องดีด้วย...
เราพยายามจะออกแบบกีตาร์ Solidbody ที่มีคุณสมบัติแบบ Hollowbody อยู่ด้วย โดยเฉพาะเสียง feedback ที่พอดี "

Red Special เป็นสุดยอดสิ่งประดิษฐ์ในแง่การสร้างสรรค์งานด้วยตัวเอง
สปริงตรงคันโยก ก็เอามาจากขาตั้งมอร์เตอร์ไซค์...
Body ไม้โอ๊ค ก็เอามาจากหิ้งเตาผิงอายุ 500 ปี...
คอกีตาร์มีขนาดใหญ่ ทำให้เกิด warm sustain อันเป็นเอกลักษณ์ของ Special
ระบบสวิตซ์ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่ง May ออกแบบให้กับตัวนี้ มี PickUp Single Coil ยี่ห้อ Burns สามตัว
PickUp แต่ละตัวมีสวิตซ์ on/off ของตัวเอง และสวิตซ์ เพิ่ม-ลด ระดับ
ทำให้สร้างโทรเสียงได้มากมายหลายแบบ...

" จะด้วยพรใดในสากลโลกก็ตาม " May กล่าวถึงกีตาร์ของเขา...
" มันจะต้องอยู่ยั่งยืน พอๆกับชีวิตผมนี่แหล่ะ "


8. Number One Strat (Stevie Ray Vaughan)
ราคา $ 600,000 (24,000,000 Baht)
ชื่อ Number One เป็นตัวที่บ่งบอกถึงตัว Stevie มากที่สุด
" Number One " Stratocaster ของ Stevie Ray Vaughan
เป็นกีตาร์ที่ประกอบจาก Vintage Strats มากกว่าหนึ่งตัว ส่วนประกอบหลักของกีตาร์ตัวนี้ คือ
body สี sunburst ปี '63 และ คอปี '63 เช่นกัน แต่คนละตัว
และ Stevie ได้ติด bridge แบบกีตาร์คนถนัดซ้าย เพื่อให้คันโยก ได้อารมณ์แบบ Hendrix


ในวันที่ 9 กรกฎาคม 1990 ก่อนโศกนาฏกรรมการเสียชีวิตของ Vaughan เพียงหนึ่งสับดาห์
คอกีตาร์ Strat ตัวนี้ก็พัง ด้วยอุบัติเหตุบนเวที จากนั้นมันก็ถูกเอากลับมาต่อกันเหมือนเดิม
และในสภาพที่ฟื้นคืนชีพใหม่ของกีตาร์ตัวนี้ ก็มีชีวิตยืนยาว... กว่าชายที่ทำให้มันเป็น " Number One "

7. Frankenstein Original Homemade (Edward Van Halen)
ราคา $ 1,000,000 (40,000,000 Baht)

กีตาร์ตัวนี้สร้างสรรค์ riff ต่างๆมากมาย เจ้าของผู้โด่งดังใช้เงินแลกมาเพียง 130 เหรียญ เท่านั้น !
Edward Van Halen ซื้อ body ไม้ Ash และคอ ไม้ Maple
เอามาจาก Lina Ellsworth ผู้ผลิตและเป็นเจ้าของ Seattle's Boogie Bodies ในปี 1975
" มันเป็นตัวที่สอง " Van Halen นั่งรำลึกอดีต "ผมให้ตังค์คนขายไป 50 เหรียญ สำหรับ body
ส่วน คอ ก็ได้มาในราคา 80 เหรียญ ผมก็เอาสองชิ้นนี้แหล่ะ มาประกอบกัน ! "

ตอนที่ Van Halen ได้ body มาใหม่ๆ มันเป็นช่องใส่ PickUp Single Coil 3 ตัว
Van Halen ก็ได้ทำการเจาะช่อง เพื่อจะใส่ humbucker ที่ด้านใกล้ bridge ซึ่งเขาได้ใส่ P.A.F.
ที่เอามาจาก ES-335 ปี 1961 ส่วน PickUp ด้านคอกีตาร์ ก็แยกระบบออกไปอย่างสิ้นเชิง

กีตาร์ตัวนี้ เป็นตัวหลักของ Van Halen ในช่วงอัลบัมแรกๆ และการทัวร์ต่างๆ ในช่วงระหว่างการทัวร์ครั้งที่ 2
ของวง Van Halen เปลี่ยน Tremolo ไปเป็น Floyd Rose ที่เป็น prototype ในตอนนั้น
บางครั้งที่ Eddie มันส์บนเวทีมากไปหน่อย จนทำให้คอ Ellsworth ชำรุดเสียหาย
ซึ่งเขาก็ซ่อมโดยเอา " อะไรก็ได้ ที่ใช้ได้ " มาใส่แทน ภาพปุ่ม tone ที่เห็นนี้ เป็นของดั้งเดิม
เพราะปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปแล้ว...


6. Blackie (Eric Clapton)
ราคา $ 1,000,000 (40,000,000 Baht)

และFender Stratocaster ที่เขาซื้อมาในปี 1970 เป็นตัวเก่งที่เขาใช้เล่นในช่วง 1974 - 1985
และเป็นตัวที่ใช้อัดเสียง เพลงอมตะ
Cocain และ Wonderful Tonight
ปัจจุบันเจ้าของคือ Guitar Center ที่ประมูลมาได้ และนำเงินที่ได้จากการประมูล ไปใช้ในการกุศล

5. Strat #001 (David Gilmour)
ราคา $ 1,000,000 (40,000,000 Baht)


Fender Stratocaster เป็นตัวที่ Stamp #001 แต่ไม่ใช่ตัวแรกจริงๆของ Fender รุ่นนี้
แต่คงเป็นเหตุผลพิเศษบางอย่าง ที่พิมพ์เลขนี้

กีตาร์ตัวนี้ เป็นของ
David Gilmour มือกีตาร์ Pink Floyd มาโดยตลอด...
ไม่นานมานี้ เขาได้เอากีตาร์ตัวนี้ขึ้นเล่นที่ง่าน Fender Strat Pack Anniversary 2004

4. ES-1275 Doubleneck (Jimmy Page)
ราคา $ 1,500,000 (60,000,000 Baht)

Gibson ES-1275 สีแดงเชอร์รี่ตัวนี้ ยังคงถูกใช้โดยผู้สร้างชื่อให้ตัวมัน คือ Jimmy Page มาถึงทุกวันนี้
" ผมได้กีตาร์ doubleneck นี้มา หลังจากบันทึกเพลง
"Stairway to Heaven" " Page กล่าว...
" เป็นเพราะผมต้องการกีตาร์ที่ต่างกัน ในการแสดงสด " ความดังฉุดไม่อยู่ของเพลง "Stairway to Heaven"

บันทึกเสียงโดย Page ด้วย Fender Telecaster ในช่วง Solo และ Fender Electric XII ในช่วง section 12 สาย ...
ซึ่งทำให้การแสดงสดบนเวทีมีความพิเศษขึ้น

เมื่อมาดูรายละเอียดของ ES-1275 ซึ่งเป็น doubleneck version ของรุ่น SG อันโด่งดังของ Gibson
ซึ่ง Page ได้เป็นคนสั่งทำโดยตรงจากโรงงานของ Gibson ในช่วงปี 1971-1972
รุ่นนี้อยู่ในแค็ตตาล็อก Gibson ธรรมดาๆ จากปี 1962-1966 แต่ก็ไม่เป็นเรื่องยากนัก ที่ Page ได้ทำการสั่งแบบพิเศษ
แฟนพันธุ์แท้ของ Page อาจสังเกตุเห็น doubleneck นี้ในภาพคอนเสิร์ตของ
Led Zeppelin
" The Song Remains the Same "

3. Les Paul 1958 (Jimmy Page)
ราคา $ 1,900,000 (76,000,000 Baht)


Gibson Les Paul ปี 1958 เป็นตัวที่ใช้อัด Riff กีตาร์ยอดฮิตระดับโลก อย่างเพลง Rock&Roll, Black Dog
และเป็นตัวที่ใช้เล่นคอนเสิร์ตบ่อยมากๆในช่วงยุค '70

2. Hofner Bass (Paul McCartney)
ราคา $ 3,500,000 (140,000,000 Baht)

Bass ตัวประวัติศาสตร์ของโลกดนตรี เป็นเบสมือซ้าย ของ Hofner ทรง Violin
เป็นตัวที่ใช้ทั้งอัดเสียง และ เล่นอยู่บ่อยมาก กับวง The Beatles มาตลอด

จะเห็นปรากฏอยู่ในภาพการแสดงในยุคนั้น และ ภาพนิ่งต่างๆมากมายกับเบสตัวนี้

1. Woodstock 1968 Strat (Jimi Hendrix)
ราคา $ 5,500,000 (200,000,000 Baht)

เป็นกีตาร์ตัว ประวัติศาสตร์ ในวงการ Rock History และเป็นสัญลักษณ์ในยุคของเขาเลย เป็นกีตาร์ตัวที่แพงที่สุดในโลก เท่าที่เคยมีมา
ถูกขายครั้งแรก ในปี 1990 ราคา
$ 320,760.-
ต่อมา... ในปี 1993 ราคา & 1,132,500.-
และในปัจจุบัน เป็นของอภิมหาเศรษฐี จาก Microsoft - Paul Allen

คลิปแนะนำกีต้าร์


หลังจากที่แนะนำกีต้าร์มาคล่าวๆแล้ว ต่อไปเป็นคลิปแนะนำกีต้าร์ เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ




เรามาดูวิธีการจับคอร์ดกันเถอะ

วิธีการจับคอร์ด

ภาพวิธีกภาพวิธีการจับคภาพวิธีการจับคอร์ด

ภาพวิธีการจับคอร์ด

คุณไม่จำเป็นจะต้องอ่านโน๊ตได้ คุณก็สามารถที่จะเล่นกีตาร์ได้นะคะ คุณสามารถเริ่มต้นทันทีด้วยการเรียนรู้เรื่องคอร์ดและวิธีเล่นคอร์ด ด้วยระบบการใช้โค๊ดสีตามที่แสดงแบบรูปข้างล่างนี้ ซึ่งจะเป็นกุญแจที่จะไขไปสู่ความสำเร็จในการเล่นกีตาร์ ตารางคอร์ดข้างล่างนี้เป็นภาพของสายกีตาร์และตำแหน่ง 3 เฟร็ตแรกของฟิงเกอร์บอร์ด จุดสีแต่ละจุดบอกให้คุณทราบว่าสายใดที่จะต้องเล่น และจะต้องกดสายตรงที่ใด และยังบอกไว้ด้วยว่าควรใช้นิ้วอะไร ภาพเล็กด้านล่างเป็นโค๊ดสีของนิ้วมือซ้าย

ดังนั้นในการจับคอร์ดที่เห็นนี้ คุณก็กดสาย 2 ตรงเฟร็ตที่ 1 ด้วยนิ้วชี้ (สีแดง) และตรงเฟร็ตที่ 2 กดสาย 1 ด้วยนิ้วนาง (สีม่วง) และกดสาย 3 ด้วยนิ้วกลาง (สีเขียว)
จุดสีในตารางคอร์ด จะตรงกับสีของเล็บบนนิ้วต่าง ๆ ของมือซ้ายที่ใช้กดคอร์ดนั้น ตารางคอร์ดนี้แสดงให้เห็นวิธีจับคอร์ด
คอร์ดเดียวกัน เมื่อเล่นบนฟิงเกอร์บอร์ดของกีตาร์จริง
คอร์ดง่าย ๆ ใคร ๆ ก็เล่นได้
มาถึงตอนนี้คุณก็สามารถเริ่มต้นเล่นได้ คุณรู้วิธีจับคอร์ดแล้ว คุณตั้งสายได้แล้ว และคุณก็รู้ชื่อ (อักษร) ของสายเปิดทั้ง 6 เส้นแล้ว สายทั้ง 6 ที่คุณได้รู้จักนี้เป็นโน๊ตดนตรี 6 ตัว สายด้านนอก 2 สาย (E) มีชื่อเดียวกัน แต่แตกต่างกันทางระดับเสียง (ความสูงหรือต่ำในเรื่องเสียง) สาย E สูง (สายหมายเลข 1) เป็นสายที่มีเสียงสูงกว่าสาย E เบส (สายมายเลข 6) 16 ตัว แต่ถ้าคุณเล่นมันพร้อมกันมันก็จะเข้ากันได้ดีค่ะ
เวลาโน๊ตหลาย ๆ ตัวเล่นพร้อมกัน มันจะออกเป็นเสียงคอร์ด (Chord) พูดกันตามภาษาดนตรี คอร์ดจะต้องประกอบด้วยโน๊ตอย่างน้อย 3 ตัว เล่นพร้อมกัน แต่สำหรับความมุ่งหมายของเรา เราอาจจะเรียกโน๊ต 2 ตัว หรือมากกว่านั้นเป็นคอร์ดก็ได้
คอร์ดก็ยังฟอร์มตัวออกเป็นตระกูล คล้ายกับคนเรา กลุ่มคอร์ดขั้นพื้นฐานจริง ๆ ก็คือตระกูลคอร์ด 3 คอร์ด คอร์ด 3 คอร์ดในแต่ละหน่วยของตระกูลนี้มีส่วนสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทางเสียงและต่อเนื่องกัน เป็นธรรมชาติจากคอร์ดหนึ่งไปยังอีกคอร์ดหนึ่ง
ยกตัวอย่งเช่นคอร์ด G "บัดดี้" หรือเสียงที่อยู่ใกล้เคียงกันที่สุดในตระกูลของมันก็คือคอร์ด C และ D (ทั้ง 3 คอร์ดแสดงให้เห็นในรูปข้างล่าง) ส่วนดีของคอร์ดตระกูล 6 ก็คือคอร์ดทั้ง 3 คอร์ดนี้เล่นไม่ยากสักนิดเลย
และในอีกไม่ช้าไม่นานคุณจะได้พบกับคำว่าคีย์ (key) ที่เชื่อมโยงกับดนตรี อาจหมายถึง ส่วนของเครื่องดนตรีก็ได้ อย่างเช่นคีย์เปียโน แต่ในทางทฤษฎีเหมือนขั้นบันไดทางดนตรีที่ประกอบด้วยเสียง 7 เสียงบวกกับเสียงที่ 7 ซึ่งเป็นการซ้ำเสียงแรกของสากลนั้น ทั้ง 8 เสียงสูงหรือ 8 เสียงต่ำ คุณสามารถไล่เสียงขึ้นหรือลงตามสากลในเสียงเต็ม (Whole Tone) หรือครึ่งเสียง (Half Tone) หรือผสมมันเข้าด้วยกันก็ได้ โน๊ตตัวแรกและตัวสุดท้ายของสากล (ซึ่งเป็นโน๊ตเดียวกัน) คือคีย์โน๊ต (Keynote) ซึ่งเป็นโน๊ตสำคัญที่สุดของสากล และโน๊ตอื่นทุกตัวก็มีส่วนสัมพันธ์กับมัน ดังนั้น เพลงหรือโน๊ตเพลงที่อาศัยสากลขึ้นต้นและลงท้ายด้วย G ก็หมายถึงเพลงนั้นอยู่ในคีย์ G
ตารางคอร์ดแต่ละประเภท
สีแดง
นิ้วชี้ หรือ 1
สีเขียว
นิ้วกลาง หรือ 2
สีน้ำเงิน
นิ้วนาง หรือ 3
สีน้ำตาล
นิ้วก้อย หรือ 4
คอร์ดบาร์
ใช้นิ้วก้อยพาดสาย

ประเภทของกีต้าร์

ประเภทของกีตาร์
     ตามที่เรานั้นเคย รู้กันอยู่แล้วว่ากีตาร์นั่นก็มีอยู่สองแบบคือ กีตาร์โปร่ง กับกีตาร์ไฟฟ้า แต่ว่าเราลองมารู้จักกีตาร์กันให้มากกว่านี้ดีกว่า
     1.กีตาร์โปร่ง หรือ อาคูสติกกีตาร์ นั่นเอง ก็คือกีตาร์ที่มีลำตัวโปร่งไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการเล่น ซึ่งสามารถที่จะพกพาไปเล่นได้ในทุก ๆ ที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรให้วุ่นวาย สามารถแบ่งได้ดังนี้
          1.1 กีตาร์คลาสสิก (Classic Guitar) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ในยุคปัจจุบันนั่นเองซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือมีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่คือประมาณ 2 นิ้วลักษณะแบนราบ และใช้สายเอ็นหรือไนล่อน ส่วน 3 สายบน(สายเบส) จะทำด้วยไนล่อนหรือใยไหมแล้วพันด้วยเส้นโลหะเช่นเส้นทองแดงหรือบรอนซ์ ซึ่งทำให้มีความนุ่มมือเวลาเล่นไม่เจ็บเหมือน สายโลหะ จึงเหมาะกับคนที่อยากหัดกีตาร์แต่กลัวเจ็บนิ้ว
         flamencoBfront.jpg (47292 bytes)flamencoBback.jpg (43036 bytes)flamencoBside.jpg (38276 bytes)










1.2 กีตาร์โฟล์ค ถือว่าเป็นที่นิยมและรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากหาซื้อง่ายราคาไม่แพงจนเกินไป(ที่แพง ๆ ก็มี) สามารถฝึกหัดได้ง่ายไม่ต้องรู้ถึงทฤษฎีดนตรีมากนัก ใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเล่นเพลงง่าย ๆ ฟังกันในหมู่เพื่อนฝูงได้แล้วแต่จริง ๆ           folk.jpg (208664 bytes)
     2. Arch top กีต้าร์ เป็นกีตาร์อีประเภทหนึ่งบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นคนเล่นมากนักลักษณะทั่ว ๆ ไป จะคล้ายกับกีตาร์โฟล์ค แต่ด้านหน้าจะโค้ง(arch แปลว่าโค้ง)

3. Semi Acoustic กีตาร์ เป็นกีตาร์ที่มีลักษณะครึ่ง ๆ หรือลูกผสมระหว่างกีตาร์โปร่งกับกีตาร์ไฟฟ้า แต่ไม่ใช่กีตาร์โปร่งไฟฟ้า

4.Solid Body Electric กีตาร์ ซึ่งก็คือกีตาร์ไฟฟ้าที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักกันดีอยู่แล้วซึ่งมีอยู่มากมายหลายแบบแต่ลักษณะเด่นก็คือลำตัวจะเป็นแบบตัน และประกอบด้วย pick up ซึ่งเป็นหัวใจของกีตาร์ไฟฟ้าอีก 2 หรือ 3 ชุด ไว้บนลำตัวกีตาร์สำหรับแปลงสัณญาณเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังเครื่องขยายอีกที 
     5. Resonator กีตาร หรือ Resophonic กีตาร์ เป็นกีตาร์อีกประเภทที่เราไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก บางทีก็เรียกว่า dobro มีลักษณะเด่นคืออาศัย resonatorซึ่งจะทำให้เกิดเสียง resonance หรือขยายเสียงให้ดังโดยทำให้เกิด resonance  dobro copy.jpg (87975 bytes)











 

7. กีตาร์แบบอื่น ๆ นอกจากกีตาร์ประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาด้านบนแล้ว ยังมีกีตาร์แบบพิเศษอื่น ๆ ซึ่งอาจจะทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์เฉพาะประเภท หรือเล่นเป็นพิเศษกับเพลงนี้โดยเฉพาะ
 fan_fret.jpg (10341 bytes) v.jpg (5085 bytes)

ประวัติความเป็นมาของกีต้าร์


ประวัติความเป็นมาของกีตาร์
         กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute lซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้น
     ผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมากเนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังปรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839 หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก     หลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia, Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี 3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์อย่างจริงจัง ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่
     อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยน่ะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเคสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย

เรียนรู้วิธีการเล่นกีต้าร์เบื้องต้นกัน (Basic Guitar)

ส่วนประกอบของกีตาร์
     คราวนี้เราจะมาศึกษาในด้านของส่วนประกอบต่าง ๆ ของ กีตาร์ชื่อที่ใช้เรียก และเกร็ดความรู้ เกี่ยวกับชิ้นส่วนต่าง ๆ กันครับ ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งได้ 3 ส่วนใหญ่ ๆ detail.jpg (129427 bytes)
ส่วนต่าง ๆ ของกีต้าร์ 
       กีต้าร์มีด้วยกันหลายประเภท หลัก ๆ แล้วจะมีกีต้าร์ไฟฟ้ากับกีต้าร์อะคูสติก   ในที่นี้เราจะมาศึกษากีต้าร์อะคูสติกซึ่งปรเภทที่ใช้สายเหล็กมักเรียกว่ากีต้าร์โฟล์คและที่สายใช้ไนลอนเรียกว่า   กีต้าร์คลาสสิด
       กีต้าร์แต่ละชนิดมีเสียงและวิธีการเล่นที่แตกต่างกันตามสไตล์ของเพลงที่จะเล่น  ดังนั้นก่อนที่เราจะเลือกซื้อกีต้ารควรคำนึงถึงสไตล์ที่เราจะเล่นก่อน    
- Bridge คือส่วนที่ใส่สายกีต้าร์
- Sound Hole คือส่วนที่เป็นกระบอกทำหน้าที่เป็นลำโพงเสียง
- Body คือตัวของกีต้าร์จะให้เสียงดีหรือจะอยู่กับไม้ที่ใช้ทำ
- Neck  เป็นคอด้านหลังกับด้านหน้าซึ่งเราเรียกว่า
( Finger Broad ) โดยทั่วไปจะใช้ไม้คนละชนิดกัน
- Fret  เป็นแท่งเหล็กฝังบน Finger Broad
เป็นส่วนสำคัญที่แบ่งเสียงระดับโน้ตต่างๆ
- Head ส่วนหัวของกีต้าร์  สำหรับใส่สายและลูกบิด
- Tuning Key  ลูกบิดสำหรับจูนเสียง 

การจับคอร์ดกีตาร์

       การจับคอร์ดนั้นให้นั่งในท่าที่ถนัด ใช้มือกำหลวม ๆ ที่คอกีตาร์ ถ้าเป็นการจับคอร์ดที่ไม่ใช้คอร์ดทาบ จะใช้นิ้วโป้งประคอง ด้านหลังคอกีต้าร์เพื่อให้กระชับมั่นคงและช่วยให้มีแรงกดสายมากขึ้น การจับสายนั้นจะต้องโก่งนิ้วที่จับสายอยู่ พยายามให้ปลายนิ้วที่กดสายตั้งฉากกับฟิงเกอร์บอร์ด มากที่สุด เพราะถ้านิ้วราบไปกับคอกีต้าร์จะทำให้โดนสายอื่นทำให้เสียงบอด ส่วนตำแหน่งการกดให้กดลงในช่องกลางระหว่างเฟร็ต หรือ ค่อนลงมานิดหน่อย แต่นิ้วยังไม่โดนเฟร็ต ถ้านิ้วโดนเฟร็ตขณะกดสายจะทำให้เสียงบอร์ด

การจับคอร์ดกีต้าร์

การจับคอร์ดกีต้าร์ ใช้นิ้วโป้งประคองด้านหลังคอกีต้าร์
การจับคอร์ดกีต้าร์

การอ่านคอร์ด



คอร์ดพื้นฐาน

      การหัดจับคอร์ดกีต้าร์ควรจะหัดจับคอร์ที่ง่ายๆประมาณ2-3คอร์ดก่อนพอเริ่มจับได้2-3คอร์ดแล้วค่อยมาหัดจับคอร์ดอื่นๆต่อไป ลองหัดจับคอร์ดตามด้านล่างนี้ดูนะครับเป็นคอร์ดที่จับได้ไม่ยากมากเหมาะสำหรับคนที่เริ่มต้นเล่นครับ..
คอร์ดพื้นฐาน